คุณบุญชัย เลาหะธีระพงษ์

ตำแหน่ง: ผู้จัดการฝ่ายขายอาวุโส
บริษัท: บริษัท เคิร์ซ ประเทศไทย จำกัด

เคิร์ซ ผู้ผลิตฟอยล์ระดับโลก พลิกโฉมใหม่ ด้วยคอนเซ็ปต์ “Be A Green Leader” มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม ผ่านนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นเอง

ฟอยล์ ที่เป็นมากกว่า “ฟอยล์” 

 

      เมื่อทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในต่างประเทศ รวมทั้งปัญหาฝุ่นละอองที่กระจายตัวอยู่ทั่วไป และขยะพลาสติกขนาดเล็กถูกทิ้งอยู่ในทะเลเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโลก จึงทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น รวมทั้งผู้ผลิตที่อยู่ในห่วงโซ่สำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ด้วย ได้มีการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นตระหนักรู้และใส่ใจการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตั้งแต่กระบวนการผลิตแรกไปจนถึงหลังการใช้บรรจุภัณฑ์เสร็จสิ้น ดังเช่น บริษัท เคิร์ซ ประเทศไทย จำกัด ผู้ผลิตฟอยล์ที่ใช้ตกแต่งบรรจุภัณฑ์เพื่อความสวยงาม หนึ่งในผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมฯด้วยเช่นกัน ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ใน Line KURZ Vfficial ว่า ฟอยเคิร์ซเป็นฟอยล์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้วารสารฯ ข่าวสารในวงการพิมพ์ฉบับออนไลน์ มีความสนใจจึงได้ติดต่อขอพูดคุยกับ คุณบุญชัย เลาหะธีระพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายขายอาวุโส ในเรื่องราวของฟอยล์เคิร์ซเป็นฟอยล์รักษ์โลกได้อย่างไร และขอนำมาเสนอให้ผู้อ่านได้ทราบกันค่ะ

 

 

         เริ่มต้นคุณบุญชัยเล่าเกี่ยวกับบริษัทให้ฟังว่า “บริษัท เคิร์ซ ผู้ก่อตั้งชื่อมิสเตอร์ เลอโอฮาร์ด เคิร์ซ ชาวเยอรมัน อาชีพช่างตีทอง อยู่ที่เมืองFürth (แบบอังกฤษ เขียนว่า Fuerth ) ทางใต้ของประเทศเยอรมนี  เป็นที่มาของโลโก้ คนถือค้อน ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน เขาตีทองออกมาเป็นแผ่นบางๆ เพื่อนำไปตกแต่งหนังสือ หรือของต่างๆ เพื่อความสวยงามและเพิ่มมูลค่า จากนั้นก็ดำเนินธุรกิจมาจนธุรกิจเติบโตมาจนบริษัทฯมีอายุ 120 ปีในปัจจุบัน คำว่า “ฟอยล์” ถ้าในวงการพิมพ์บ้านเรา ก็คือ อะลูมิเนียมสีเงิน เอาไว้ห่อของหรืออาหาร แต่ถ้าเป็นคนยุโรป เขาเรียกเป็นม้วน เป็นพลาสติก หรือเคลือบลามิเนต ฟอยล์ดังกล่าว เมื่อใช้งานเสร็จ วัสดุฟอยล์อะลูมิเนียม ก็จะเข้าสู่กระบวนการย่อยสลายที่ย่อยสลายค่อนข้างยาก หากจะนำไปรีไซเคิลจะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน กว่าจะกลายมาเป็นวัสดุรีไซเคิล ถ้าเป็นกระดาษเคลือบพลาสติก แล้วมีปั๊มฟอยล์อีก ไม่สามารถนำไปย่อยสลายได้เลย ทางเดียวที่จะสามารถทำลายได้ คือ การฝังกลบ หรือ เผา ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมโลกเป็นอย่างมาก 

 

      ในช่วงเกิดเหตุการณ์ระบาดของไวรัสโควิด19 ที่ผ่านมา เคิร์ซเองก็ได้รับผลกระทบพอสมควร คือ โรงงานที่มาเลเซียต้องปิดตัวลงชั่วคราว ไทยจึงต้องมีการเตรียมสต็อกเพื่อรองรับลูกค้าไว้ ตอนนั้นลูกค้าก็เป็นกังวลกันมาก เพราะผู้ผลิตบางเจ้าไม่สามารถหยุดสายการผลิตสินค้าได้ และความต้องการของผู้บริโภคก็ยังมีอยู่  คงเป็นเพราะอุตสาหกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนในหลายๆอุตสาหกรรมทั่วไป ดังเช่นผู้ใหญ่ในวงการพิมพ์พูดให้ฟังกันบ่อยๆในงานสัมมนา มาถึงตอนนี้เราก็สามารถผ่านเหตุการณ์ครั้งนั้นมาได้แล้วครับ

 

         

          ปัจจุบันเคิร์ซได้ตั้งสำนักงานในไทย 6 ปีแล้ว มองเห็นทิศทางการใช้ฟอยล์ ว่า “ลูกค้าเคิร์ซ มีแนวโน้มความต้องการให้บรรจุภัณฑ์สวยแปลกตามากขึ้น ชอบใช้ฟอยล์ที่มีลูกเล่นต่างๆ มาสร้างจุดเด่นและความแตกต่างให้กับสินค้า ยอมลงทุนกับเทคโนโลยี แต่ความต้องการปริมาณฟอยล์มีจำนวนไม่มากเท่าเดิม จึงทำให้เคิร์ซต้องปรับตัวตามไปด้วย และทำให้เคิร์ซได้นำเสนอสินค้าใหม่ๆให้ลูกค้าอยู่ในราคาที่จับต้องได้ อีกอย่างหนึ่ง ผู้ผลิตมีความต้องการให้สินค้าของเขาสามารถรีไซเคิลได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ลูกค้าจึงพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ฟอยล์ที่มีส่วนผสมของพลาสติกปน แต่กล่องบรรจุภัณฑ์ยังต้องดูสวยงาม และโดดเด่นอยู่ จนทำให้เคิร์ซหันมาต่อยอดเรื่อง  “นวัตกรรมฟอยล์” ตอนนี้มีฟอยล์ 3 แบบ คือ  แบบแรก Lens foil  มีลักษณะคล้ายเลนส์ มีความนูน มีความลึก เป็นสามมิติ คล้ายกับเลนส์แว่นตา เหมาะสำหรับงานผิวเรียบ เช่น สติ๊กเกอร์ ซริงค์ฟิล์ม เป็นต้น ฟอยล์นี้ให้ความรู้สึกแบบปั๊มนูน มีความเงา แวววาว ดูมีมิติ ประเทศไทยถือเป็นที่แรกๆที่ใช้เลนส์นี้กับสินค้าแบรนด์ดัง และวางจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้าน แบบที่สอง Nano embossing  เป็นการสร้างลวดลายต่างๆด้วยการใช้บล็อกโลหะทอง หรือ แม่แบบลวดลาย ปั๊มลงบนแผ่นฟอยล์ ทำให้เกิดลวดลายตามแบบบล็อก มีความละเอียดระดับไมครอน(ลายเส้นเล็กสุดเพียง 0.04mm) สามารถสร้าง textureให้พื้นผิวได้ ให้ความรู้สึกไปตามลวดลายที่ถูกออกแบบมา สร้างความพิเศษให้ชิ้นงาน หรือใช้ทำกันปลอมได้ อย่าง ลายเส้นที่คล้ายกับเส้นใยรังนก ลายขนแมว เป็นต้น และสามารถใช้ปั๊มลวดลายต่างๆ ลงฟอยล์ได้จำนวนหลายครั้งและมีหลายลายให้ได้เลือกใช้งานอย่างเหมาะสม 

            

 

            แบบที่สาม ฟอยล์ลูมาฟิน (LUMAFIN) เป็นฟอยล์ใส มีความโปร่งแสง เหมาะกับงานพิมพ์ทั่วไปและบรรจุภัณฑ์ มีหลายสี เวลาปั๊มฟอยล์สีชมพูใสลงบนพื้นขาว จะมองเห็นเป็นสีชมพู คือ ปั๊มลงวัสดุสีอะไร สีก็จะผสมตามพื้นผิวของวัสดุนั้นๆ เวลามองเห็นสีก็จะเปลี่ยนไปเป็นอีกสี ทำให้ฟอยล์ลูมาฟิน มีลักษณะเฉพาะตัว ทั้งยังสามารถปั๊มลงบนลวดลายเส้นเล็กๆได้  เส้นงานยังมีความคมชัด มีความสวยงาม เน้นชิ้นงานให้โดดเด่น ดูดีมีระดับ

 

          ที่สำคัญ ฟอยล์เคิร์ซนั้นได้มีส่วนในการรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย กล่าวคือ ฟอยล์ของเคิร์ซ เป็นฟอยล์แบบ Hot Stamping สามารถผนึกฟอยล์ลงบนจุดที่ต้องการตกแต่งได้เลย แล้วลอกส่วนฟิล์มฟอยล์แยกออกมาทิ้งได้ ทำให้สามารถนำบรรจุภัณฑ์นั้นไปเข้าสู่ตามกระบวนการรีไซเคิลได้เลย จุดเด่นนี้ทำให้กลายเป็นฟอยล์ที่มิตรต่อสิ่งแวดล้อมเลย    

         นอกจากนี้บริษัทเคิร์ซ ประเทศเยอรมันนี ยังได้เลือกพลังงานธรรมชาติ(พลังงานกังหันลมเพื่อปั่นไฟ) มาใช้ในโรงงานผลิต คือ เริ่มตั้งแต่กระบวนการขั้นตอนการผลิตฟอยล์ ไปจนถึงกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ปัจจุบันที่โรงงานเคิร์ซ ประเทศเยอรมันนี ได้เริ่มทดลองกรรมวิธีรีไซเคิลฟอยล์จากลูกค้า ด้วยเครื่องรีไซเคิลที่พัฒนามากว่า 5 ปี วิธีการคือนำเศษฟอยล์ที่มีส่วนผสมฟิล์มพลาสติกอยู่เข้าเครื่อง แล้วหลอมใหม่กลายเป็นเม็ดพลาสติก จากนั้นก็ฉีดรูปเม็ดพลาสติกออกมาให้เป็นถาดใส่ของ หรือจานรองแก้ว ซึ่งตรงตามสโลแกน “Be A Green Reader” เลยทีเดียว

 

 

         ก่อนจะจบการพูดคุย คุณบุญชัย เลาหะธีระพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายขายอาวุโส ยังได้ฝากข้อความว่า “เคิร์ซ ยินดีที่จะให้คำปรึกษาด้านออกแบบโดยใช้ฟอยล์ตกแต่งบรรจุภัณฑ์ ให้มีความสวยงามโดดเด่น เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าได้ดีขึ้นและผู้บริโภคชื่นชอบกับสินค้านั้น นี่เป็นคอนเซ็ปต์หลักของเคิร์ซอยากนำเสนอบริการให้กับลูกค้า และเรามีฟอยล์หลายราคาตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับบน ไม่ได้มีราคาสูงเพียงอย่างเดียว ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าและชิ้นงานนั้นด้วย อีกทั้งฟอยล์เรามีขายทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากต้องการฟอยล์ของเคิร์ซสาขาใด จากประเทศไหน เราก็มีฟอยล์แบบเดียวกันกับประเทศนั้น จำหน่ายให้ลูกค้าได้เลือกใช้งานครับ” 

 

    

ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลความรู้ดีๆ

คุณบุญชัย เลาหะธีระพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายขายอาวุโส

บริษัท เคิร์ซ ประเทศไทย จำกัด

 

 

back