สัมมนาวิชาการ Active Packaging for Food Industry

11 มกราคม 2560 | 00:00 น.

รศ.สุณี ภู่สีม่วง
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เมื่อเร็วๆนี้ Professor Dr. Angelo Montenero, Dr. Andrea Lorenzi และ Dr. Ilaria Alfieri ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยพาร์มา (University of Parma) แห่งประเทศอิตาลี (ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนด้านบรรจุภัณฑ์ และเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยชั้นนำที่จัดงานสัมมนาระดับนานาชาติด้าน BioPolpack ที่เน้นการพัฒนาวิจัยด้านวัสดุชีวภาพ วัสดุย่อยสลายได้ทางชีวภาพในงานบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะวัสดุสัมผัสอาหารที่เข้มงวดมากในกลุ่มสหภาพยุโรป เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยพาร์มา มีศูนย์นวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ที่ทำการวิจัยพัฒนาวัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารและวัสดุ อื่นๆ เช่น สารเคลือบที่ช่วยเพิ่มความสามารถด้านการสกัดกั้นก๊าซและความชื้น สารต้านทานการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ เป็นต้น) ได้เดินทางมาประเทศไทย และได้เข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนด้านการบรรจุภัณฑ์ทั้งในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และระดับปริญญาโทด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย

การพบกันครั้งนั้น จึงเป็นที่มาของการจัดสัมมนาวิชาการร่วมกันของทั้งสองมหาวิทยาลัย ในหัวข้อเรื่อง Active Packaging for Food Industry เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 ณ ห้องประชุมของ มสธ. เพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี่ใหม่ๆ ด้านการบรรจุภัณฑ์ให้แก่คณาจารย์ นักศึกษาทั้งระดับป.ตรี ป.โท รวมทั้งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการบรรจุภัณฑ์ โดยหัวข้อสำคัญที่คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของพาร์มา
นำเสนอ ได้แก่ The Sol-Gel Method, Photocatalytic Materials, Hydrophobic Treatments และการประยุกต์ใช้ทางบรรจุภัณฑ์ เช่น ความสามารถด้านการสกัดกั้นก๊าซออกซิเจน พร้อมนำเสนอตัวอย่างวัสดุและบรรจุภัณฑ์ที่มีการ นำมาใช้ในตลาดแล้วจริง นอกจากนี้ ยังมีการทดลองสมบัติของวัสดุต่างๆ ด้วยเครื่องมือวัดที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น โดยคณาจารย์ของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มสธ. เป็นผู้บรรยายสรุปภาคภาษาไทย บริษัท เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด เป็นผู้จัดรายการ มีผู้สนใจเข้าร่วมฟ้งการสัมมนาครั้งนี้มากกว่า 60 คน
ผู้สนใจเนื้อหาและหรือสนใจศึกษาต่อด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยระบบการศึกษาทางไกลกับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ติดต่อได้ที่หมายเลข 02 504 8192 – 3 มือถือ 087 100 1915 หรือเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ที่ http://scitech.stou.ac.th/page/home.aspx
back